สถิติ
เปิดเว็บ | 12/09/2011 |
อัพเดท | 16/12/2019 |
ผู้เข้าชม | 342,107 |
เปิดเพจ | 586,692 |
สินค้าทั้งหมด | 30 |
บริการ
ลิ้งก์ตัวอักษร
สมเด็จเจ็ดชั้น วัดเกศไชโย
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
830
-
เข้าชม
9,304 ครั้ง
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
27/10/2019 04:11
-
รายละเอียดสินค้า
พระสมเด็จวัดเกศไชโย เป็น ๑ ใน ๓ ตระกูลพระสมเด็จที่สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) โดยได้บรรจุไว้ในองค์พระมหาพุทธพิมพ์ พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ประดิฐฐานอยู่ภายในพระวิหารวัดไชโยวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง ซึ่งเป็นพระสมเด็จที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร นั่นคือจะต้องมีลักษณะของ อกร่อง หูบายศรี มีขอบกระจกเกือบทุกพิมพ์ทรง วงการพระเครื่องในปัจจุบันให้ความนิยมเป็นอย่างสูงและจัดรวมพระสมเด็จวัดเกศไชโยให้อยู่ในชุด เบญจภาคี เช่นเดียวกับพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จบางขุนพรหม
วัดไชโยวรวิหารหรือวัดเกศไชโย ( ชื่อที่ปรากฏในพื้นที่คือ วัดเกศไชโย ) เป็นพระอารามหลวงชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เดิมทีเป็นวัดราษฏร์ สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาไม่มีประวัติแน่ชัดว่าใครสร้าง แต่มาปรากฏชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปเมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) แห่งวัดระฆังโฆษิตารามได้มาสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ขึ้น เมื่อครั้งปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ประมาณปี ๒๔oo-๒๔o๕ ซึ่งขณะนั้นท่านยังดำรงสมณะศักดิ์ พระเทพกวี
การที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จๆ มาสร้างพระหลวงพ่อโต หรือที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามให้ภายหลังว่า พระมหาพุทธพิมพ์ ขึ้นไว้ที่นี่ ก็เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่ระลึกถึงโยมมารดาซึ่งได้ร่วงลับไปแล้วและเป็นอนุสรณ์ สถานความผูกพันในช่วงชีวิตของท่าน เนื่องจากมารดาเคยพาท่านมาพักอยู่ที่ตำบลไชโยเมื่อตอนท่านยังเล็กๆ ซึ่งตามประวัตินั้นสมเด็จๆ ท่านมักสร้างสิ่งที่เป็นอนุสรณ์เกี่ยวกับชีวิตของท่านไว้ตามสถานที่ต่างๆ ไว้มากมาย
คามบันทึกของพระยาทิพโกษา ( สอน โลหะนันท์ ) ได้กล่าวไว้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) เป็นผู้สร้างขึ้น เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับโยมมารดาที่ชื่อ เกศ
สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ทรงสร้างพระพิมพ์สมเด็จ ๗ ชั้น แล้วนำมาแจกรวมทั้งบรรจุกรุไว้ใน กรุวัดไชโยวิหาร ในคราวที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ได้สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่วัดนี้ และประมาณการจากบันทึกต่างๆว่าน่าจะมีอายุการสร้างสมเด็จพิมพ์วัดเกศไชโย นั้นใกล้เคียงกับสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม
พระสมเด็จวักเกศไชโย จึงถือได้ว่าเป็นพระสมเด็จ ที่เกี่ยวข้องกับเจ้าประคุณสมเด็จๆ ทั้งในด้านสร้าง การปลุกเสก ตลอดจนนำไปบรรจุกรุ ส่วนผสมในการสร้างนั้นล้วนแล้วแต่เป็นของดีของวิเศษซึ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) นำมาประสมกันเป็นเนื้อพระนั้น ส่วนใหญ่ใช้สูตรเดียวกับสมเด็จวัดระฆังฯ และสมเด็จบางขุนพรหม ประกอบด้วยมวลสารหลักได้แก่ ปูนเปลือกหอย ผงวิเศษ ทั้ง ๕( ผงอิทธิเจ ผงพุทธคุณ ผงปถมัง ผงมหาราช และผงตรีนิสิงเห ) ข้าวสุก กล้วยน้ำว้า ดอกไม้แห้ง น้ำมันตั้วอิ้ว และมวลสารอื่นๆอีกมากมาย
ประวัติการสร้างพระสมเด็จจากตรียัมปวาย
คนทั้งหลายเชื่อตามตรียัมปวายซึ่งอ้างถึงคำสัมภาษณ์พระธรรมถาวร (ช่วง) ซึ่งเป็นลูกศิษย์สมเด็จโต และอุปสมบทเมื่อท่านได้เป็นสมเด็จพุฒาจารย์ในปี พ.ศ. ๒๔๐๗ ว่าสมเด็จโตเริ่มสร้างพระเมื่อท่านอุปสมบทได้ ๒ ปี หมายความว่า ปี พ.ศ. ๒๔๐๙ เป็นปีที่ท่านเริ่มสร้างพระ พระธรรมถาวรอายุยืนถึง ๙๒ ปี ท่านมรณภาพเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ก่อนตรียัมปวายเขียนหนังสือเรื่องพระสมเด็จในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ถึง ๑๘ ปี เป็นการอ้างอิงโดยไม่ได้สัมภาษณ์ด้วยตัวเอง ที่พูดเช่นนี้มิใช่หมายความว่าตรียัมปวายจะผิดแต่ประการใด เพียงแต่เป็นข้อเท็จจริงประการหนึ่งประกอบการวิเคราะห์
จากหนังสือประวัติสมเด็จโต
หนังสือประวัติสมเด็จโตของ แฉล้ม โชติช่วง และมนัส ยอขันธ์ ที่พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๔ กล่าวไว้ในหน้า ๖๓๓ ว่าท่านสร้างพระไว้ ๙ พิมพ์ สมัยเป็นลูกวัดธรรมดายังไม่มีตำแหน่ง ซึ่งในหน้า ๖๒๘ บอกไว้ว่า
ท่านสอนนักธรรมบาลี ๘ ปี จึงไปธุดงค์ นั่นคือท่านเริ่มธุดงค์ปี พ.ศ. ๒๓๕๘ ปี พ.ศ. ๒๓๖๑ ท่านได้สมศักดิ์เป็นพระครูสามัญ แต่ท่านไม่รับ หนีไปไกล ๆ ถึงประเทศเขมร
ปี พ.ศ. ๒๓๗๘ ได้เป็นพระครูปริยัติธรรม
ปี พ.ศ. ๒๓๘๖ ได้เป็นพระราชปัญญาภรณ์
ปี พ.ศ. ๒๓๙๐ ได้เป็นพระเทพกวีศรีวิสุทธินายก
ปี พ.ศ. ๒๓๙๘ ได้เป็นพระธรรมกิตติโสภณ
ปี พ.ศ. ๒๔๐๗ ได้เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์
จะเห็นว่าปี พ.ศ. หลัง ๆ หนังสือประวัติสมเด็จโต เริ่มไม่ตรงกับหนังสืออื่น
หน้า ๖๔๘ บ่งไว้ว่าในปี พ.ศ. ๒๓๕๔ ท่านไปได้วิธีทำพระเครื่องจากกำแพงเพชร และพระพิมพ์เจดีย์แหวกม่านในหน้า ๖๐๕ เป็นพระที่ท่านสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๓ อายุ ๒๓ ปี พระพิมพ์พระประธาน วัดปากบาง ระบุไว้ในหน้า ๕๙๐ ว่าท่านสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๑ อายุ ๓๑ ปีส่วนพิมพ์ ๗ ชั้น บอกไว้ในหน้า ๔๘๖ ท่านสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๔ อายุ ๒๔ ปี
ดังนั้น ปี พ.ศ. ๒๓๕๓ เป็นปีที่ท่านเริ่มสร้างพระสมเด็จตามที่ระบุไว้ในหนังสือ ประวัติสมเด็จโต ซึ่งมาจากบันทึกของหลวงปู่ดำสหธรรมิกของสมเด็จโตจากตำนานหนังสือ พระสมเด็จ ของท่านตรียัมปวาย ทำให้ได้ทราบว่า พระสมเด็จเกศไชโย พิมพ์ ๗ ชั้น ท่านสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๔ อายุ ๒๔ ปี การสร้างพระสมเด็จเกศไชโย เพื่อบรรจุในองค์พระหลวงพ่อโต สมัยท่านสมเด็จพุฒาจารย์โต ในรัชสมัย ร. ๔ นั้น ใช้เวลาทั้งสิ้น ๓ ปี จนถึงประมาณ ปี ๒๔o๙ ได้มีการสร้างได้ไม่ครบ ๘๔,ooo องค์ จึงจำเป็นต้องนำพระสมเด็จวัดระฆังที่สร้างไว้ ไปเสริมจนครบ แต่หลังจากการบรรจุกรุในองค์หลวงพ่อโตได้เพียงประมาณ ๒0 ปี คือ ปี ๒๔๓o ร. ๕ ก็ได้โปรดฯให้มีการสร้างอาคารครอบองค์พระ แต่การสร้างอาคารได้กระเทือนจนองค์พระหลวงพ่อโตชำรุด ทรุดเสียหาย ที่ต้องสร้างใหม่ และเปิดกรุ เพื่อสร้างพระหลวงพ่อโตองค์ใหม่เล็กลงมากว่าเดิม ที่ใช้เวลาสร้างทั้งสิ้น ๘ ปี
ในกระบวนการริ้อหลวงพ่อโตองค์เดิม ได้มีช่างนำพระสมเด็จเกศไชโยออกไปจำนวนหนึ่ง ทางวัดนำมาให้ผู้มีจิตศรัทธาทำบุญอีกจำนวนหนึ่ง ที่คาดว่าน่าจะไม่เหลือ หรือเหลือไม่มาก อีกแปดปีก็มีการบรรจใหม่อีกครั้ง
ที่มีการสร้างพระชุดใหม่ขึ้นมาทดแทนให้เท่าจำนวนเดิม ที่คาดว่า ในความเป็นจริงอาจจะสร้างมากกว่าจำนวนที่บรรจุในองค์พระหลวงพ่อโต ที่สร้างขึ้นใหม่ และแบ่งไปบรรจุที่วัดอื่นๆ เช่นวัดโพธิ์เกียบ วัดตาลานใต้ เป็นต้น จึงเป็นที่มาของคำว่า พระสมเด็จวัดเกศไชโยมีหลายกรุ แต่แท้จริงน่าจะพูดถึงพระสมเด็จรุ่นที่ สอง ที่บรรจุกรุในปี ๒๔๓๘ มากกว่า เพราะรุ่นแรกรุ่นเดียวไม่พอ ดังนั้น การพิจารณาคือ ลักษณะสีขาวปูนเปลือกหอยบดละเอียด และเอกลักษณ์เด่นเนื้อขาว และน้ำมันตังอิ้วที่ได้อายุ คราบกรุอาจจะมีบ้างแต่ไม่ควรมากนัก เพราะท่านอยู่ในกรุเพียง ๒o ปี เท่านั้นเอง
เนื้อพระสมเด็จวัดเกศไชโย อาจแบ่งได้ ๓ ลักษณะคือ เนื้อนุ่ม เนื้อนุ่มปานกลาง และเนื้อแกร่ง พระเนื้อนุ่มมีมวลสารและน้ำมันตั้งอิ้วผสมอยู่มาก เรียกว่า เนื้อจัด ส่วนใหญ่มีสีขาวขุ่นอมน้ำตาล ส่วนพระเนื้อนุ่มปานกลาง มีส่วนผสมที่ได้สัดส่วนลงตัว ส่วนใหญ่สีขาวอมเหลือง และพระเนื้อแกร่ง เป็นพระเนื้อแก่ปูน ผิวแห้ง แกร่ง คล้ายเนื้อหินอ่อน มวลสารปรากฏให้เห็นในปริมาณน้อย
ภาพด้านหลังนำมาให้ได้ชมกันครับ ผุยุบย่นร่องรอยของกาลเวลา
----------------------------------------------------------------------------------------------สัจธรรมพระเครื่อง สัจธรรมพระเครื่อง สัจธรรมพระเครื่อง สัจธรรมพระเครื่อง สัจธรรมพระเครื่อง สัจธรรมพระเครื่อง